วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันที่ 8 และวันที่ 11 กพ 2559

เนื้อหาทีเรียน 

สมรรถนะทั้ง 7 ด้านของเด็กปฐมวัย 

ความหมาย 
สมรรถนะ คือพฤติกรรมบ่งชื้ของแต่ละวัย ช่วงอายุ ว่าสามรถทำอะไรได้บ้าง

ตัวอย่าง : การเคลื่อนไหวและการทรงตัว
3 ปี วิ่งและหยุดเองได้
4 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหน้าโดยไม่กางแขน
5 ปี เดินต่อเท้าไปข้างหลังโดยไม่กางแขน

ตัวอย่าง : การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3 ปี พูดคุยและเล่นกับเพื่อนเด็กด้วยกัน
4 ปี ช่วยเหลือเพื่อน
5 ปี ชวนเพื่อนมาเล่นด้วยกันโดยกำหนดสถานที่ 

ตัวอย่าง : ความทรงจำ 
3 ปี ท่องคำคล้องจองสั้นๆได้
4 ปี บอกชื่อวันในสัปดาห์
5 ปี บอกหมายเลขโทรศัพท์ที่บ้านได้  

ตัวอย่าง : การคิดอย่างมีวิจารณญาณ  
3 ปี แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้
4 ปี แก้ปัญหาโดยใช้อุปกรณ์ช่วย
5 ปี แก้ปัญหาได้หลายวิธี

ความสำคัญ
- ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กและครูปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจ เด็กปฐมวัยมากขึ้น
- สร้างความตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาเด็กในช่วงปฐมวัยมากขึ้น
- ชี้แนะแนวทางในการพัมนาเด็กเป็นเสมือนคุ่มือช่วยแนะแนว

ข้อตกลงเบื้องต้น  
เด็กปบมวัยทุกคนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล พ่อแม่ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ครู อาจารย์ ควรศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ด้วยความเข้าใจ และไม่ควรถือว่าพฤติกรรมบ่งชี้เหล่านี้เป็นแบบประเมินเด็ก เสมือนเป็นการสอบตกสอบได้เด็ดขาด ถ้าพบว่าเด็กบางคนมีพัฒนาการล่าช้าช่วงอายุก็ควรไปปรึกษาแพทย์

สมรรภถนะ 7 ด้าน ประกอบไปด้วย  
1.การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย
2.พัฒนาการด้านสังคม
3.พัฒนาการด้านอารมณ์
4.พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา
5.พัฒนาการด้านภาษา
6.พัฒนาการด้านจริยธรรม
7.พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์  

ด้านที่ 1 การเคลื่อนไหวและสุขภาพทางกาย 
1. การเคลื่อนไหว 
- การเคลื่อนไหวและการทรงตัวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
- การเคลื่อนไหวโดยใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
- ประสาทสัมผัสการเคลื่อนไหว
2.สุขภาวะทางกาย 
- โภชนาการ
- สมรรถนะทางกาย
- ความปลอดภัย
- การช่วยเหลือและการดูแลตนเอง

ด้านที่ 2 พัฒนาการด้านสังคม    
1. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใญ่
2.การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเด็ก
3.พฤติกรรมด้านการปรับตัวกับสังคม
4.การเห็นคุณค่าของการแตกต่าง

ด้านที่ 3 พัฒนาการด้านอารมณ์
1.ความคิดเกี่ยวกับตนเอง
2.การควบคุมอารมณ์ตนเอง
3.สมรรถนะของตนเอง
  
ด้านที่ 4 พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา 
1.ความจำ
2.การสร้างหรือพัมนาการคิด(ที่เป็นการคิดเบื้องตน)
3.ตรรกวิทยาและความมีเหตุผล
4.การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5. ความตั้งใจจดจ่อ
6.การคิดด้านคณิตศาสตร์
7.ความเข้าใจปรากฎการณ์และวิธีแสวงหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์
-สิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
-สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
8.ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว
-ครอบครัว
-ชุมชนและสังคม
9.มลภาวะและการรักาาสิ่งแวดล้อม
10.ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ

ด้านที่ 5 พัฒนาการด้านภาษา 
1.การเข้าใจและการใช้ภาษา 
2.การเข้าใจและการใช้ภาษา(การเรียงคำให้เป็นประโยชน์)
3.การเข้าใจและการใช้ภาษา(ด้านความเข้าใจภาษา)
4.การสื่อความหมายด้านการพูด
5.การสื่อความหมายด้านท่าทางและสัญลักษณ์
6.การอ่าน
7.การเขียน

ด้านที่ 6 พัฒนาการด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.การมีวินัยในตนเอง
2.การพัฒนาเกี่ยวกับความรู้ผิดชอบชั่วดี

ด้านที่ 7 พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์
1.ศิลปะการแสดงดนตรีและการเต้นตามดนตรี
2.ศิลปะการแสดง
3.ศิลปะการแสดง(ทัศนศิลป์)

สรุปจากงานวิจัย  
จากสมรรถนะจำนวน 419 ข้อ พบได้ว่าเด็กทำได้ในระดับจากง่ายไปหายาก ดังนี้
สมรรถนะ  178 ข้อ อยู่ในระดับ ง่าย

สมรรถนะ  52   ข้อ อยู่ในระดับปานกลาง
สมรรถนะ  189 ข้อ อยูในระดับ ยาก
ดังนั้นข้อค้นพบเหล่านี้เป็นประเด็นที่บ้านและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมเด็กของเราต่อไปนี้ บนพื้นฐานของการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง

แนวแนะหลักในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ดูแลเด็กครูและอาจารย์(สกศ. 2553)
1.รักเด็กเป็นที่เด็ก
2.ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง 
3.เข้าใจกระบวนการและการพัมนาตามวัยของเด็กอย่างรอบด้าน
4.เข้าใจกระบวนการการเรียนรู้ของเด็กในวัยนี้
5.มีจินตนาการและค้นหาหรือสร้างสื่อเรียนรู้ที่ทำให้เด็กสนใจ สนึกอยากรู้เพิ่มเติม
6.สนับสนุนเด็กให้แสดงความคิดเห็น ให้เด็กคิดให้เด็กมีส่วนร่วม
7.เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ก้าวร้าวทำร้ายทารุณและไม่ละเมิดทางกาย ทางเพศ ทางวาจากับเด็ก
8.ชี้ชวนเด็กให้รู้จักตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
9.เข้าใจเรื่องความแตกต่างวระหว่างเด็ก
10.สังเกตเด็กและพฤติกรรมเด็กอย่างต่อเนื่อง
11.สัมพันธ์และสร้างเครือข่ายกับพ่อแม่ผูปกครองและผู้คนในชุมชน
12. คำนึง ประโยชน์สูงสุด ที่จะตกอยู่กับเด็กเป็นสำคัญ

ในส่วนของกิจกรรมวันที่ 4 อาจารย์งดการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น