วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 

 วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 


ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวสม์ 

1.ประวัติของโรงเรียน
        โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2498 เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตั้งอยู่ที่ 259/444 ซอยปรีดีพนมยงค์ 13 ถนนสุขุมวิท 71 แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10110
โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ ตั้งอยู่ในอาคารสงเคราะห์พิบูลเวศม์ในที่ดินของ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ปัจจุบันโอนเป็นการเคหะแห่งชาติ) ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 2 งาน 88 ตารางวา พร้อมอาคารตึกชั้นเดียว จำนวน 2 หลัง หลังละ 2 ห้องเรียน (ได้รื้อก่อสร้างเป็นตึกอาคารเรียน 1 และอาคารเรียน 2 ในปัจจุบัน)และ อาคารศาลาทรงไทย 1 หลัง ได้มอบให้กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนชั้นอนุบาล เมื่อ วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2498 โดยตั้งชื่อว่า“โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์” สังกัดแผนการศึกษาอนุบาล กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา 

2.คณะผู้บริหาร

นายสุวรรณ ยะรังวงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
นายศรีจันทร์ ปัสสาคำรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายบริหารวิชาการ และฝ่ายบริหารงานบุคคล
นายไพศาล เทียมเวชที่ปรึกษาฝ่ายบริหารงบประมาณ และบริหารงานทั่วไป 

3.จำนวนครูทั้งหมด  

       จำนวนบุคลากรทั้งสิ้น 125 คน แยกเป็นฝ่ายบริหาร 1 คน ครู 80 คน  ครูชาวต่างชาติ 16 คน 
 เจ้าหน้าที่ธุรการ 4 คน ลูกจ้างประจำ 8 คนและลูกจ้างชั่วคราว 16 คนมีนักเรียน 1365 คน

4.ห้องเรียนระดับปฐมวัยมีทั้งหมด 

1.อนุบาล 3 ขวบมีห้องเรียน 3 ห้อง  
2.อนุบาล 1 มีห้องเรียน 5 ห้อง
3.อนุบาล 2 มีห้องเรียน 5 ห้อง

5.ห้องที่ไปศึกษา


 



 -ครูประจำชั้นและนักศึกษาฝึกสอน นางสาววาสนา ถิ่นถาน และ นางสาวกรวรรณ คงสุข 
-ชั้นอนุบาล 3 ขวบ ห้อง 3 
-มีนักเรียนชาย 10 คน
-มีนักเรียนหญิง 16 คน
-รวมมีนักเรียนทั้งหมด 26 คน

โรงเรียนพิบูลเวศม์จัดการศึกษาไว้  2 หลักสูตร 

 -โรงเรียนมาตรฐานสากล World class standard school
 -หลักสูตร Mini english program แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 
1.ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาล 3 ขวบ อนุบาลปีที่ 1 และอนุบาลปีที่ 2 
2.ระดับปฐมศึกษาคือระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ปฐมบท อนุบาลพิบูลเวศม์ดี มีมาตรฐานสู่สากล

การจัดการศึกษาโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ 
      จัดการศึกษาโดยสร้างความรู้และทักษะให้นักเรียนสร้างความมั่นใจให้นักเรียนกล้าเรียนรู้ กล้าแสดงออกใช้ภาษาสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ สร้าให้นักเรียนเป็นผู้นำมากกว่าผู้ตามและที่สำคัญต้องเป็นพลเมืองดี มีเหตุผล มีการับผิดชอบตนเองและสังคม จัดประสบการณ์หลากหลายทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน  โดยความร่วมมือระหว่างครอบครัวชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่นและสถานศึกษา

โครงสร้าง
1.การอภิปราย  เด็กได้ร่วมสนทนากับเพื่อนทั้งกลุ่มย่อย ทั้งชั้นเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ ทำให้เด็กมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห้นซึ่งกันและกัน
2.การทำงานภาคสนาม  ทำงานภาคสนามในที่นี้หมายถงเด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการไปศึกาานอกสถานที่
3.การนำเสนอประสบการณ์  การนำเสนอประสบการณ์ช่วยให้เด็กได้ทบทวนและจัดระบบประสบการณ์ของตนเอง สิ่งที่นำเสนออาจมาจากการอภิปราย หาหัวข้อที่สนใจการกำหนดคำถามการนำเสนอประสบการณ์ที่ตนเองได้เรียนรู้
4.การสืบค้น  การสืบค้นสามารถใช้ข้อมูลที่หลากหลายวิธีตามความสนใจของเด็ก เพื่อค้นหาคำตอบของคำถามที่ตั้งไว้ เด้กอาจสัมภาษณ์พ่อแม่ บุคคลในครอบครัว
5.การจักการแสดง  ผลงานของเด้กทั้งที่เป็นรายบุคคล รายกลุ่ม วึ่งสามรถนำมาจัดแสดงได้ทุกระยะการดำเนินการตามโครงการ
จากโครงสร้างทั้ง 5 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ขั้นที่ 1 ระยะเริ่มต้น  เป็นระยความสนใจของเด็ก กำหนดหัวข้อเรื่อง
ขั้นที่ 2 ระยะดำเนินโครงการ  เป็นระยะค้นหาคำตอบ ที่อยากรู้
ขั้นที่ 3 สรุปโครงงาน  ระยะสิ้นสุดความสนใจ การสรุปและทบทวน
จัดกิจกรรมตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 6 สาระ
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2  การวัด
สาระที่ 3  เลขาคณิต
สาระที่ 4  พีชคณิต
สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6  ทักษะและกระบวนทางคณิตศาสตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น